หลังจากพูดคุยกับพี่คนหนึ่งเกี่ยวกับปลวกแถวบ้านไม่รู้จะกำจัดอย่างไร??
โดยไม่ใช้สารเคมี..แถวนี้ปลวกแรง...สักวันหนึ่งตื่นมาเสาบ้านก็จะไม่เหลือ..
เลยได้รับชีวภัณฑ์นี้มาซองหนึ่งด้วยความเข้าใจเรื่องของสิ่งแวดล้อมตรงกัน..
"ไส้เืดือนฝอยสายพันธุ์ไทยกำจัดปลวก" ผลิตโดย กรมวิชาการเกษตร การเลี้ยงไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากสามารถทำได้เอง วัสดุอุปกรณ์ราคาถูก หาได้ง่าย ต้นทุนต่ำ ให้ผลผลิตสูง
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก เป็นทางเลือกที่ดี ปลอดมลพิษ
ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และนี่..คือเรื่องที่นำเสนอในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก
..........
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
ถ้าหากว่าเราจะพูดถึงปัญหาหนึ่ง ที่หลายท่านพบเมื่อสร้างบ้านเสร็จและเข้าไปอยู่อาศัยได้ระยะหนึ่ง คือ มีปลวกเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านและกัดกินโครงสร้างของบ้านทำให้เกิดปัญหาตามมา ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะเกิดปัญหาที่ยากจะแก้ไขตามมาภายหลัง นอกจากปลวกที่เราทราบกัน
โดยทั่วไปว่าเป็นศัตรูของบ้าน และเป็นศัตรูทำลายไม้ที่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์แล้ว ปลวกยังทำลายต้นไม้ โดยกัดกินต้นไม้ตั้งแต่รากจนถึงลำต้น ทั้งในระยะต้นกล้าและไม้ยืนต้น พบความเสียหายทั้งในสวนผลไม้ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มะพร้าว ไร่อ้อย และมันสำปะหลัง นอกกจากนั้น ยังเป็นปัญหาทำลายสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำด้วยเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ รวมทั้งกระดาษ เสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ
ปลวกที่มีความสามารถในการทำลายสูง ได้แก่ ปลวกใต้ดิน (subterranean termites) ชนิดที่สำคัญคือ Coptotermes gestroiและ C.havilandi จัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศราฐกิจสุงที่สุดในประเทศไทย โดยมีประชากรปลวกนับแสนตัว และมีอัตราการแพร่พันธุ์ในแต่ละปีสูง
มาก ทำให้การแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนั้น ยังพบปลวกชนิดสร้างรังขนาดเล็ก ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ (carton nest termites) ที่สำคัญคือ Microcerotermes, Globitermes, Dicuspiditermes, Termes และOdontotermes เป็นปลวกที่สร้างรังอยู่บนดินหรือ
ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือโครงสร้างอื่น ๆ ภายในอาคาร
ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย
การกำจัดปลวกโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้สารเคมี ได้แก่ สารเคมีจำพวกออร์แกนโนฟอสเฟต คาร์บาเมต และสารสังเคราะห์กลุ่มไพรีทอยด์ อย่างไรก็ตามเราตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีดังกล่าว ในปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นวิธีการกำจัดปลวกที่ปราศจากมลพิษ และไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ไส้เดือนฝอยสกุล Steinernema เป็นสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทย มีคุณสมบัติทนทานอุณหภูมิได้สูง (35 องศาเซลเซียส) เพาะเลี้ยงได้ง่ายในอาหารเทียมราคาถูก มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสภาพแวดล้อมแต่มีศักยภาพในการกำจัดปลวกที่สร้างจอมปลวกและปลวกที่อยู่ใต้ดิน
ได้ดี ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำไปใช้กำจัดปลวก เพื่อลดหรือทดแทนสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม
กลไกการเข้าทำลาย ไส้เดือนฝอยสามารถเข้าสู่ตัวปลวก โดยผ่านทางช่องเปิดตามธรรมชาติ หรือปลวกกินไส้เดือนฝอยเข้าไป จากนั้นไส้เดือนฝอยเคลื่อนที่เข้าสู่ช่องว่างภายในตัวปลวกซึ่งมีน้ำเลือด (haemocoel) และปลดปล่อยแบคทีเรีย (Xenorhabdus sp.) ที่อยู่ร่วมกับไส้เดือน-ฝอย (Symbiotic bacteria) เข้าสู่กระแสเลือดของปลวกแบคทีเรียจะสร้างสารพิษ มีผลทำให้ปลวกเกิดอาการเลือดเป็นพิษ หยุดนิ่ง และตายภายในเวลาไม่เกิน 6 ชั่วโมง ไส้เดือนฝอยจะเจริญเติบโต และขยายพันธุ์อยู่ภายในตัวปลวกประมาณ 3 – 4 วัน ได้ลูกรุ่นใหม่และเคลื่อนที่ออกจากซาก
ปลวก เพื่อรอปลวกตัวใหม่ต่อไป
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
ผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย บรรจุในถุงพลาสติกใสรูปทรงสามเหลี่ยม โดยมีโพลิเมอร์เป็นสารอุ้มความชื้น บริมาณเท่ากับ 5 ล้านตัวต่อซอง การเก็บผลิตภัณฑ์ ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25 – 35 องศาเซลเซียส) จะสามารถเก็บได้นาน 3 เดือน นับจากวันผลิตวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย
ตัดถุงผลิตภัณฑ์เทโพลิเมอร์ลงในภาชนะ เติมน้อสะอาดพอท่วม แล้วใช้มือกวนล้างให้ไส้เดือนฝอยหลุดออกจากผิวโพลิเมอร์ จากนั้น ใช้กระชอนกรองแยกโพลิเมอร์ทิ้งไป นำน้ำที่ผ่านการกรองใส่ในกระบอกฉีดน้ำ นำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดปลวกดังนี้
1. กรณีที่พบตัวหรือรังปลวก ให้ฉีดพ่นถูกตัวปลวกหรืออาจใช้วิธีราดเดือนฝอยลงไปในรังปลวกปฏิบัติซ้ำ ระยะห่าง 2 – 3 วัน หรือจนไม่พบ ตัวปลวก
2. กรณีไม่พบตัวปลวก ให้ขุดหลุมขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร เพื่อวางเหยื่ออาหารล่อปลวก โดยใช้ไส้เดือนฝอยคลุกกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราหรือเศษกระดาษลูกฟูก โรยไว้ในหลุมที่ขุดไว้ ปิดปากหลุม ตรวจทุก 3 วัน และโรยไส้เดือนฝอยซ้ำ ระยะห่าง 3–5 วัน หรือจนไม่พบตัวปลวก
ข้อควรระวัง
- ห้ามนำผลิตภัณฑ์แช่ตู้เย็น
- เมื่อล้างแยกไส้เดือนฝอยออกจากโพลิเมอร์แล้ว ควรใช้ให้หมดในครั้งเดียว
- เขย่ากระบอกฉีดพ่นให้บ่อยครั้งในขณะฉีดพ่นกำจัดปลวกเพื่อไม่ให้ไส้เดือนฝอยตกตะกอนที่ก้นกระบอก
"งานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรเกี่ยวกับไส้เดือนฝอยกำจัดปลวกนี้ นักวิจัยของกรมวิชาการเกษตรได้ทดลองจนประสบผลสำเร็จและสามารถเผยแพร่ให้ประชาชนที่สนใจที่มีความต้องการนำไส้เดือนฝอยไปใช้เพื่อกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
หากผู้อ่านท่านใดมีความสนใจ และต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับไส้เดือนฝอยเพื่อนำไปใประโยชน์
สามารถติดต่อได้ที่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2579 9586 ได้ในวัน เวลา ราชการ
(ขอบคุณ ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร : ข้อมูล)
ที่มา : http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n12/v_11-jan/jakfam.html
ถ้าสามารถเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอยถุงนี้ต่อไปได้สำเร็จ
จะมาประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน.
คงต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างปลวก...กับบ้าน!!!!
.
.
พิซซ่า
5 มิถุนายน 2554
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=718051